|  | จัตุรัสเทียนอันเหมิน
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติจีนยุคใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง จัตุรัสแห่งนี้ประกอบด้วยอนุสรณ์วีรบุรุษศาลาประชาคม และสถานลำรึกท่านประธานเหมา ในทางด้านเหนือสุดของจัตุรัส เป็นที่ตั้งของหอเทียนอันเหมิน หอเทียนอันเหมิน
เป็นหอที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1417 ในรัชสมัยราชวงศ์หมิง ปกครอง ใช้เป็นพิธีกรรมสำคัญ กล่าวคือ พิธีประกาศแต่งตั้งสามัญชนเป็นจักรพรรดิ หรือ จักรพรรดินี บริเวณด้านหน้า พระราชวังต้องห้าม (กู้กง) ในปี ค.ศ.1911 ในช่วงยุคสุดท้ายของระบบศักดินา สถานที่แห่งนี้กลายเป็นเขตต้องห้ามมิให้คนทั่วไปเข้าไปได้ยกเว้นราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น อนุสรณ์วีรบุรุษ
เป็นแท่งหินสูงตั้งตระหง่านอยู่กลางจัตุรัสเทียนอันเหมินสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1952 เป็นอนุสรณ์สถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติจีน “วีรบุรุษของประชาชน เป็นอมตะ”คือข้อความที่ท่านประธานเหมาได้จารึกที่อนุสรณ์ ศาลาประชาคม
อยู่ทางด้านตะวันตก สร้างขึ้นในปี 1959 เป็นที่ประชุมระดับชาติ ทั้งทางด้านการเมืองและการทูต ภายในมีห้องประชุมขนาดใหญ่ 2ห้อง หลักๆ บรรจุได้รวม 15,000 ที่นั่ง สถานรำลึกประธานเหมา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของจัตุรัส แบ่งออกเป็น 3ส่วน และ ที่ตั้งของโลงแก้วคริสตัลบรรจุร่างของท่านประธานเหมา โดยรอบๆของสถานรำลึกประดับด้วยดอกไม้สีสันสวยสดงดงามเพื่อให้แลดูสดชื่น |
|
 | พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของจัตุรัส ซึ่งเป็นที่ผนวกเอาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีนกับพิพิธภัณฑ์ปฏิวัติ ใน ปี คศ.2003 ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลาประชาคม ภายในพิพิธภัณฑ์ปฏิวัติจัดแสดง ภาพ , หนังสือ และ แบบจำลองของจีนยุคใหม่ ส่วนพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีน จัดแสดง ภาพของโบราณต่างๆ ที่มีอายุยาวนาน และ ความรุ่งเรืองของจีน เมื่อ 1,700,000ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 1921 ซึ่งเป็นปีที่ราชวงศ์สุดท้ายสละบัลลังก์ ในปัจจุบัน นี้ จัตุรัสแห่งนี้ ได้กลายสภาพเป็นเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กินเนื้อที่กว่า 440,000 ตารางเมตร |
|
|
|  | พระราชวังต้องห้าม
พระราชวังต้องห้าม (Forbidden City) จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า"เมืองต้องห้ามสีม่วง"พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน (39°54′56″N, 116°23′27″E) เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด ในอดีตภายในเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ |
|
 | ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลยแม้ว่า ประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีนและภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ยูเนสโก ได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยาง เป็นหนึ่งในมรดกโลกในนามพระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) โดยเป็นมรดกโลกที่เป็นสิ่งก่อสร้างด้วยไม้โบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลก |
|
|
|  | พระราชวังฤดูร้อนอี้เหอหยวน
"อี้เหอหยวน" หรือวังฤดูร้อน วังฤดูร้อนหรือที่เรียกกันว่า สวนสาธารณะอี้เหอหยวนนั้น ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง เป็นพระราชอุทยานที่มีทัศนียภาพที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๙๐ เฮกต้าร์ ประกอบด้วยเนื้อที่ที่เป็นนํ้า ๓ ส่วน เนื้อที่ที่เป็นดิน ๑ ส่วน เมื่อศตวรรษที่ ๑๒ จักรพรรดิองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์จินทรงมีพระราชโองการให้สร้างที่ประทับแรมขึ้นที่นี่เป็นครั้งแรก ต่อมาในหลายราชวงศ์มีการสร้างเสริมเติมต่อหลายครั้ง พระจักรพรรดิเฉียงหรงแห่งราชวงศ์ชิงทรงมีพระราชโองการให้สร้างขยายอุทยานแห่งนี้ให้กว้างออกไปและทรงให้ชื่อว่า อุทยาน "ชิงอีหยวน" เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๐ อุทยานแห่งนี้ถูกทหารพันธมิตร อังกฤษ - ฝรั่งเศสเผาทําลาย ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๘ พระนางซูสีได้ใช้งบประมาณกองทัพเรือของชาติซี่งเป็นเงินแท่ง ๕ ล้านตําลึงมาสร้างอุทยานนี้ขึ้นใหมและเปลี่ยนชื่อเป็น "อี้เหอหยวน" อุทยานนี้มีชื่อเลื่ื่องลือไปทั่วโลก |
|
 | ก็ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม อุทยานอี้เหอหยวนประกอบด้วยสองส่วนคือ เขา "ว่านโซ่วซาน" และ ทะเลสาบ "คุนหมิงหู" บนเขาว่านโซ่วซานได้สร้างวิหาร ตำหนัก พลับพลา และเก๋งจีนอันงดงามไว้หลายรูปหลายแบบ ตั้งอยู่ลดหลั่นรับกันกับภูมิภาพ ที่เชิงเขามีระเบียงทางเดินที่มีระยะทางไกลถึง ๗๒๘ เมตร ลัดเลาะไปตามริมทะเลสาบคุนหมิงหู ในทะเลสาบคุนหมิงหูมีเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง มี สะพาน ๑๗ โค้งอันสวยงามเชื่อมติดกับฝั่ง ทั่วทั้งอุทยานจัดไว้ได้สัดส่วนงดงามตระการตาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะในการสร้างอุทยานของจีน |
|
|
|  | วัดลามะ
วัดลามะหรือ ยงเหอกง เป็นวัดหนึ่งของศาสนาพุทธนิกายทิเบตอันลือชื่อ กินเนื้อที่กว่า 6 หมื่นตารางเมตร ตำหนักต่าง ๆมี กว่า 1000 ห้อง วัดลามะนี้แต่เดิมเป็นพระตำหนักที่เฉียนหรงฮ่องเต้ กษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์ชิงสร้างให้องค์ชายสี่หรือหย่งเจิ้ง ปีค.ศ 1723 องค์ชายสี่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ์องค์ที่ 3 จึงย้ายเข้าไปประทับในพระราชวังโบราณ ส่วนพระตำหนักนี้ มีพื้นที่ครึ่งหนึ่งปรับเป็นที่พักผ่อนอิริยาบถนอกวัง ขององค์ชายสี่ อีกครึ่งหนึ่งถวายพระลามะจังเจียฮูถูเค่อถู จึงกลายเป็นวัดลามะของทิเบตนิกายหมวกเหลือง นิกายหมวกเหลืองเป็นนิกายย่อยนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธนิกายทิเบต ผู้ก่อตั้งชื่อ หลัวปู้จ้าง จงเค่อปา เริ่มบวชตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พออายุ 17 ปีก็เดินทางไปทิเบตเพื่อศึกษาคัมภีร์นิกายลามะ ต่อมาได้เป็นนิกายศาสนาพุทธที่ปกครองทิเบต เนื่องจากพระภิกษุของนิกายนี้สวมจีวรสีเหลือง จึงได้ชื่อว่านิกายเหลือง พระลามะองค์นี้มีคุณูปการสำคัญต่อการปฏิรูปนิกายลามะ |
|
 | ทั้งพระทะไลลามะและพระปันเชนลามะล้วนเป็นลูกศิษย์ของท่าน ในวัดลามะมีโบราณวัตถุและสิ่งปลูกสร้างโบราณมากมาย ในจำนวนนี้มีของล้ำค่าอยู่ 3 อย่าง ของล้ำค่าอย่างแรกคือภูเขาพระอรหันต์ 500 รูป สูงเกือบ 4 เมตร ยาวกว่า 3 เมตร แกะสลักด้วยไม้จันทน์หอม หากมองดูไม้แกะสลักชิ้นนี้แต่ไกล จะเห็นเป็นภาพภูเขาเขียวนิ่งสงบ ต้นสนเขียวขจี พระเจดีย์แกะสลักอย่างประณีต ศาลาโบราณเรียบง่าย มีถ้ำลึกลับ ทางเดินเลี้ยวลดคดเคี้ยว มีบันได สะพานและสายน้ำเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แต่ถ้ามองดูให้ใกล้ชิด จะเห็นฝีมือแกะสลักที่ชำนาญยิ่ง มีเขาหลายรูปติดต่อกันเป็นชั้น ๆ ตามเขาเหล่านี้มีพระอรหันต์ 500 องค์กระจายอยู่ แม้จะเป็นรูปแกะสลักเล็ก ๆ ก็ตาม แต่ทุกรูปมีหน้าตารูปร่างต่างๆ กัน มีชีวิตชีวา เป็นงานแกะสลักที่ยอดเยี่ยมมาก แต่ที่น่าเสียดายก็คือหลังจากผ่านภัยสงครามมาหลายครั้ง พระอรหันต์บนเขามี เหลืออยู่เพียง 449 องค์เท่านั้น ของที่ล้ำค่าอย่างที่สองคือ พระพุทธรูปพระศรีอริยเมตไตรยที่อยู่ในวิหารว่านฝูเก๋อ วิหารว่านฝูเก๋อยังได้ชื่อว่าเป็นหอพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นวิหารที่สูงใหญ่ที่สุดภายในวัดลามะ สูงกว่า 30 เมตร มีหลังคา 3 ชั้น ก่อด้วยไม้ทั้งหมด ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระศรีอริยเมตไตรยปางยืนที่แกะสลักด้วยไม้จันทน์หอมสีขาว สูง 26 เมตร ส่วนล่าง 8 เมตรฝังอยู่ใต้ดิน อีก 18 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน พระพุทธรูปทั้งองค์มีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากต้นไม้ต้นเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อค.ศ 1979 มีการบูรณะซ่อมแซม พบว่าไม้จันทน์หอมที่ฝังอยู่ใต้ดินนั้น แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 200 ปี แต่เนื้อไม้ยังแข็งแกร่งไม่สึกหรอ แสดงให้เห็นถึงฝีมือระดับสูงในการแกะสลักและการอนุรักษ์โบราณวัดถุของช่างประติมากรรมโบราณของจีนอย่างเต็มที่ ของที่ล้ำค่าอย่างที่สามคือแท่นพระพุทธรูปในวิหารเจ้าฝูโหลว ข้างในมีพระพุทธรูปพระศากยมุนีที่หล่อด้วยทองเหลือง ด้านหลังของพระพุทธรูปมี ประภามณฑลเหมือนฉากบังตา แท่นบูชาพระพุทธรูปและประภามณฑลล้วนแกะสลักด้วยไม้ชื่อว่า จินเซอหนานมู่ ฝีมือแกะสลักก็ประณีตมาก แท่นพระพุทธรูปมีส่วนบนสูงจรดเพดาน แบ่งเป็นชั้นนอกชั้นใน 3 ชั้น ในยามตะวันตกดิน พระพุทธรูปประทับยืนอย่างสง่างาม แสงอาทิตย์ส่องกระทบกระจกเงาที่ทำ ด้วยทองเหลืองที่ติดอยู่บนประภามณฑล แสงสะท้อนตามกระจกเงาทองเหลืองเป็นวงกลมล้อมรอบองค์พระพุทธรูป บวกกับแสงของตะเกียงที่ไม่มีวันดับ ทำให้ข้างในวิหารสว่างไสวไปทั่ว แท่นพระพุทธรูปส่วนบนมีเสาไม้แกะสลักมังกรทองคำ 2 เสาค้ำรับไว้ คานเพดานหุ้มด้วยทองคำ แกะสลักมังกร 99 ตัวพัน อยู่โดยรอบมังกรบางตัวกางเล็บออกมา บางตัวทำท่ากำลังทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนจริงมาก นอกจากของล้ำค่า 3 อย่างดังกล่าว สถาปัตยกรรมและของประดับประดาภายในวัดลามะล้วนมีลักษณะพิเศษโดดเด่น เช่นวิหาร ฝ่าหลุนเตี้ยนเป็นสิ่งปลูกสร้างทรงจตุรมุข บนหลังคาวิหารมีเจดีย์บุทองคำ 5 องค์เลียนแบบทรงทิเบต เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชนชาติทิเบต ซึ่งรวมเอาศิลปวัฒนธรรมทั้งแบบชนชาติจีนและชนชาติทิเบตเข้าด้วยกัน ในวัดยังมีแท่นศิลาจารึกที่มี4 ด้าน 4 ภาษา แต่ละด้านแกะสลักตัวอักษรภาษาจีน ภาษาแมนจู ภาษามองโกลและภาษาทิเบต เนื้อหาของตัวอักษรเหล่านี้มาจากหนังสือ หล่ามาซัว(ทฤาฎีลามะ) ซึ่งจักรพรรดิ์สมัยราชวงชิงทรงนิพนธ์ กล่าวถึงความเป็นมาของศาสนาพุทธนิกายทิเบตและนโยบายของรัฐบาลชิงที่มีต่อนิกายลามะ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีของชนชาติต่าง ๆ ในจีน วัดลามะเปิดให้ผู้คนเข้าชมเมื่อปีค.ศ 1981 แต่ละปีมีผู้คนทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนมาเยี่ยมชมและกราบไหว้บูชา ปัจจุบัน วัดลามะมิเพียงแต่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเท่านั้น หากยังเป็นค ลังแห่งศิลปวัฒนธรรมของชนชาติจีน แมนจู มองโกลและทิเบตด้วย |
|
|
|  | หอฟ้าเทียนถาน
หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งยังคงรักษา ไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่ และลานหยวนชิว เป็นต้น เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่น เพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. ๑๔๒๐ ห่างจากปัจจุบัน ๕๐๐ กว่าปี เป็นรูปทรงกลมหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ไม่มีขื่อและอกไก่ อาศัยเสาไม้ ๒๔ ต้น เป็นโครงยึดไว้ซึ่งได้ชื่อว่า"ตําหนักไม่มีขื่อ"ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม ๓ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว |
|
 | เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียวมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนามเทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพงเบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง ก็จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม |
|